วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

                                              




 เซิร์ฟเวอร์ PowerEdge R300 และ T300 จากเดลล์ มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่ให้ความคุ้มค่าในการลงทุนที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็น:
  • คุณสมบัติ TPM (Trusted Platform Module) เพื่อเสริมความปลอดภัย ช่วยยืนยันสิทธิ์ในการใช้งานระบบ ดูแลการเข้ารหัสข้อมูล และปกป้องข้อมูลสำคัญบนระบบ
  • สามารถสั่งปิดการใช้งาน USB ได้อย่างสะดวก เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญหายหรือการรั่วไหลของข้อมูล
  • สวิทช์ตรวจจับการปลดล็อกตัวเครื่องเพื่อป้องกันการลักลอบถอดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ต่อพ่วง และแผงควบคุมต่างๆ

            นอกจากนี้เดลล์ยังพร้อมนำเสนอบริการใหม่ล่าสุดอย่าง ProSupport เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในการเลือกรูปแบบการให้บริการหลังการขาย ซึ่งบริการเหล่านี้เมื่อใช้ร่วมกับคุณสมบัติของเซิร์ฟเวอร์ตระกูล R300 และ T300 จะช่วยให้ลูกค้าใช้เวลาน้อยลงในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีเวลามากขึ้นในการเพิ่มผลิตภาพและทุ่มเทให้กับการเติบโตของธุรกิจ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

                                                            


                                                      




 เครื่องกราดตรวจ หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้งานเอกสารและงานนำเสนอข้อมูลเป็นอย่างมาก อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถนำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์ได้โดยใช้หลักการสะท้อนแสง ข้อมูลที่รับเข้าโดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นรูปภาพที่ได้รับ การแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและตีความได้ และสามารถเก็บในหน่วยความจำได้ ผู้ใช้สามารถนำรูปดังกล่าวไปประกอบในแฟ้มข้อมูลเอกสารที่สร้างจากซอฟต์แวร์ประมวลคำ หรือแฟ้มข้อมูลงานนำเสนอที่สร้างจากซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูลได้ ในการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องมีซอฟต์แวร์ช่วยในการแสดงข้อมูลและจัดเก็บด้วย
การทำงานของอุปกรณ์ใช้เทคโนโลยีการส่องแสงผ่านฟิลเตอร์ 3 ตัว ได้แก่ ฟิลเตอร์สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินไปยังวัตถุที่ต้องการกราดตรวจ (scan) เมื่อแสงผ่านวัตถุจะเกิดการสะท้อนผ่านกระจกและเลนส์ส่งไปยังวัตถุไวแสง ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับความเข้มของแสง หลังจากนั้นแปลงความเข้มของแสงที่แตกต่างกันให้เป็นข้อมูลแบบดิจิทัลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และข้อมูลดังกล่าวจะแสดงเป็นรูปภาพโดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องสแกนเนอร์นั้นๆ ผู้ใช้สามารถจัดเก็บแล้วนำรูปที่ได้ไปตกแต่งเพิ่มเติมโดยใช้ซอฟต์แวร์กราฟิก เช่น ซอฟต์แวร์โฟโทชอพ (Photoshop)
การพิจารณาคุณภาพของสแกนเนอร์ จะพิจารณาจากความละเอียดของภาพ ซึ่งมีหน่วยเป็นจุดต่อนิ้ว (dot per inch : dpi) ภาพที่มีจำนวนจุดต่อนิ้วมากจะมีความละเอียดสูง ซึ่งจะเหมือนรูปจริงมาก นอกจากนี้ความสามารถในการแยกแยะสีของสแกนเนอร์ และความเร็วในการกราดตรวจก็มีความสำคัญเช่นกัน

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

                                                      

                                  

เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนจะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ดังนี้
1) เนื้อหาของบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ
2) ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System : LMS) ดังนั้น ระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร
3) การติดต่อสื่อสาร นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภท Real-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

                                                           


 สพป.สตูล  มีนโยบายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มาใช้ในการพัฒนางานให้มีความสะดวก  รวดเร็ว  สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและความพร้อมของสำนักงาน  ในเบื้องต้นมีระบบ e-filing  กับ  สพฐ. และ โรงเรียนในสังกัด  อันดับต่อไปจะขับเคลื่อนระบบเสนองานภายในแบบไร้กระดาษ  และทำงานได้ทุกที่  ทุกเวลา  (Any where Any time)  แบบ  24 x 7  กล่าวคือ  สามารถเสนองาน  วินิจฉัยสั่งการ  ออกเลขหนังสือส่ง  ออกเลขคำสั่ง  และนำส่งโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้กระดาษ  โดยเริ่มทดลองใช้ระบบควบคู่กับระบบเดิม  และจะพยายามดำเนินการอย่างเต็มระบบในปีงบประมาณ 2554

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

                                                               


เข้ากับกระแสการใช้ชีวิตในสังคมยุคใหม่ และเอาใจสาวกสมาร์ทโฟน ที่นิยมการดาวน์โหลด

กับผลงานการพัฒนาแอพพลิเคชั่น บนมือถือ จากฝีมือนักวิจัยของเนคเทค หรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ที่พร้อมจะขนมาโชว์กว่า 30 แอพพลิเคชั่น ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี หรือ NECTEC-ACE 2011

ซึ่งปีนี้ยกผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตคนเมือง สมัยใหม่ ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งโซนไฮไลต์ของงาน โดยมีทั้งด้านความบันเทิง การเกษตร การแพทย์และสุขภาพ รวมถึงด้านการขนส่งและการจราจร

แอพฯ เหล่านี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพื่อนำไปทดลองใช้งานจริง

อย่างเช่น แอพพลิเคชั่น “แกลลอรี่3 มิติ” (Gallery 3D) ทางเลือกของคนชอบถ่ายรูปผ่านมือถือ ผลงานของ ดร.จันทร์จิรา สินทนะโยธิน นักวิจัยอาวุโสจากหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีภาพ และทีมงาน ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์กะโหลกศีรษะและจำลองใบหน้าหลังการจัดฟัน

ดร.จันทร์จิรา บอกถึง แกลลอรี่ 3 มิติ ผลงานชิ้นใหม่ที่เพิ่งเสร็จหมาด ๆ ว่า เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ มานำเสนอภาพบนมือถือให้จัดแสดงในรูปแบบแกลลอรี่ เสมือนจริง สามารถที่จะหมุนด้วยการสัมผัสหน้าจอ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปในแกลลอรี่ที่สร้างขึ้นด้วยการกดปุ่ม หรือใช้ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวที่มีอยู่ในมือถือรุ่นใหม่ ก็ได้

แอพพลิเคชั่นแบบนี้ นักวิจัยบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในต่างประเทศมีให้โหลดอยู่แล้วเพียงแต่จะเสียค่าดาวน์โหลด ซึ่งก็ไม่แพงมาก แต่นี่ก็คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักดาวน์โหลดที่จะได้ใช้งานแอพพลิเคชั่นฝีมือคนไทย และที่สำคัญ โหลดได้ฟรี โดยปัจจุบัน รองรับกับสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2

ส่วนแอพพลิเคชั่น “ทราฟฟี่ บีเซฟ” (Traffy b Safe) ก็เป็นอีกหนึ่งแอพฯ ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกับคนทำงานที่ต้องอาศัยรถโดยสารสาธารณะ ทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ บอกว่า แอพฯ นี้ใช้สำหรับการแจ้งร้องเรียนเรื่องความปลอดภัยของการเดินทาง สามารถอัพโหลดรูปภาพ แสดงความคิดเห็น ทำการวัดความเร็วของรถแบบเรียลไทม์ ขณะที่นั่งโดยสารอยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีรถโดยสารนั้น ๆ ขับรถเร็วเกินกำหนดได้อีกด้วย โดยผู้ใช้งานมีสิทธิที่จะร้องเรียนโดยส่งต่อไปยังกรมการขนส่งทางบกหรือมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคได้ทันที อนาคต ผู้วิจัยบอกว่าจะมีการพัฒนาต่อให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการขับของผู้ขับขี่ได้อีกด้วย ปัจจุบันแอพพลิเคชั่น ถูกทดสอบใช้งานแล้วกับรถตู้โดยสารที่วิ่งระหว่าง ม.ธรรมศาสตร์ รังสิตกับอนุสาวรีย์ฯ โปรแกรมนี้ใช้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และของแอปเปิ้ล

สำหรับ “ฟู้ดไออีท” (Food i Eat) แอพพลิเคชั่นสำหรับคนรักสุขภาพ ผลงานของทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์นักวิจัยเจ้าของผลงานบอกว่า แอพฯนี้เป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นโปรแกรมบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยเก็บประวัติการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ผู้ใช้สามารถกรอกปริมาณแคลอรีของอาหารที่ทานเข้าไป โดยเลือกค่าจากฐานข้อมูลอาหารที่มีกว่า 200 ชนิด ทำให้ผู้ใช้ทราบว่าในแต่ละวันทานอาหารเข้าไปแล้วกี่แคลอรี แถมมีระบบคำนวณความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ทราบว่าอาหารที่ทานเข้าไปเหมาะสมหรือไม่อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่น ใบข้าว (BaiKhao) แอพฯ ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ พัฒนาขึ้นสำหรับอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องทำงานด้านการเกษตร ให้เป็นทางเลือกสำหรับการตรวจสอบความต้องการธาตุไนโตรเจนของต้นข้าวในนา แอพพลิเคชั่นผึ้งใจสิงห์ (Bee The Lion) จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาพ ที่เป็นโปรแกรมช่วยค้นหาดอกไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับดอกไม้ที่อยากรู้จัก โดยอาศัยภาพถ่ายดอกไม้เป็นต้นฉบับในการค้นหา และแอพพลิเคชั่น แรลลี่วัฒนธรรมไทย (Thai Fiesta) จากห้องปฏิบัติการวิจัยสารสนเทศสื่อประสม ที่จะนำผู้ใช้งานเข้าสู่เทศกาลของไทยผ่านไอโฟน โดยมีการแนะนำเทศกาลรอบ ๆ ตัว สามารถแข่งขันเก็บคะแนนกับเพื่อนในกลุ่มรวมถึงท่องเที่ยวในรูปแบบสังคมออนไลน์ได้